ค้นหาทั้งเว็บไซต์

ลืมรหัสผ่าน

อีเมลพร้อมคำแนะนำในการตั้งรหัสผ่านใหม่ของคุณได้ถูกส่งไปยัง
false
หากคุณไม่ได้รับอีเมล โปรดตรวจสอบโฟลเดอร์ขยะ/สแปมของคุณ หรือคลิกปุ่ม "ส่งอีเมลอีกครั้ง" ด้านล่าง
กลับไปที่
ยังไม่มีบัญชีผู้ใช้งานใช่ไหม
ซื้อ ขาย ที่พักอาศัย • ที่พักอาศัย

การโอนเงินมาประเทศไทย

16 มกราคม 2024
ชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในประเทศไทยผู้ซึ่งซื้อห้องชุดต้องทำการโอนเงินเพื่อชำระค่าห้องชุดนั้นจากต่างประเทศ และเงินนั้นต้องโอนเข้ามายังประเทศไทยในรูปของเงินตราต่างประเทศ
Image | CBRE

ขั้นตอนการดำเนินการโอนเงินสำหรับผู้ซื้อคอนโดมิเนียมที่เป็นชาวต่างชาติ

 

ภายใต้พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2534 ชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในประเทศไทยผู้ซึ่งซื้อห้องชุดต้องทำการโอนเงินเพื่อชำระค่าห้องชุดนั้นจากต่างประเทศ และเงินนั้นต้องโอนเข้ามายังประเทศไทยในรูปของเงินตราต่างประเทศด้วย ผู้ซื้อจำเป็นต้องขอรับใบรับรอง “แบบการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ” ทุกครั้งที่มีการดำเนินธุรกรรมทางการเงินจากธนาคารที่เป็นผู้ดำเนินการ ผู้ซื้อจำเป็นต้องสำแดงใบรับรองทั้งหมดแก่กรมที่ดินเพื่อทำการจดทะเบียนคอนโดมิเนียมนั้นด้วย

 

เมื่อมีการส่งเงินมายังประเทศไทย ผู้ซื้อจำเป็นต้องแจ้งเจตจำนงว่าเป็นการส่งเงินเพื่อซื้อห้องชุดในคอนโดมิเนียมนั้น ๆ

 

ธนาคารจะออกใบรับรอง “แบบการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ” เมื่อมีการทำธุรกรรมเกินกว่า 50,000 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น สำหรับการดำเนินธุรกรรมที่มีมูลค่าน้อยกว่าที่กำหนดผู้ซื้อต้องขอใบรับรอง จากทางธนาคารเอง

 

หากผู้ซื้อชาวต่างประเทศดังกล่าวมีสถานะเป็นผู้พำนักถาวรในไทย ผู้ซื้อสามารถซื้อคอนโดมิเนียมโดยใช้เงินบาทไทยได้ (ไม่จำเป็นต้องขอ “แบบการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ”)

 

การโอนเงิน

 

เงินต้องส่งมาโดยวิธีการโอนเงินโดยโทรเลข (T/T - Telegraphic Transfer) โดยต้องมีเอกสารระบุตัวผู้ซื้อประกอบด้วย

อย่างไรก็ตามผู้ซื้อสามารถขอให้บุคคลอื่นทำการโอนเงินแทนเพื่อทำการซื้ออสังหาริมทรัพย์นั้นได้โดยระบุชื่อผู้รับเป็นผู้ซื้อเอง

 

ผู้ซื้อจำเป็นต้องแจ้งเจตจำนงว่าเป็นการส่งเงินเพื่อซื้อห้องชุดในคอนโดมิเนียมเมื่อมีการส่งเงินมายังประเทศไทย

ธนาคารที่ได้รับเงินในรูปของเงินตราต่างประเทศจะออกแบบการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ ซึ่งจะมีข้อมูลดังต่อไปนี้

 

  • จำนวนเงินโอนในรูปของเงินตราต่างประเทศ
  • จำนวนเงินโอนคิดเป็นเงินบาทไทย
  • ชื่อของผู้โอนเงิน
  • ชื่อของผู้รับเงิน
  • วัตถุประสงค์ของการโอน

 

กรมที่ดินจะยอมรับชื่อของผู้ซื้อไม่ว่าจะอยู่ในฐานะของผู้โอนเงินหรือผู้รับโอนเงินก็ตาม

 

หากผู้รับเงินเป็นบุคคลธรรมดาแต่ต้องการที่จะจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ห้องชุดในนามของบุคคลสองคน ผู้โอนต้องแจ้งชื่อบุคคลทั้งสองโดยระบุว่าบุคคลทั้งสองมีวัตถุประสงค์ในการซื้อคอนโดมิเนียมร่วมกันแก่ธนาคาร

 

กรมที่ดินยังยอมรับการโอนแม้ว่าชื่อผู้ส่งและชื่อผู้รับไม่ได้ปรากฏเป็นชื่อเดียวกับผู้ซื้อ แต่ในกรณีนี้ผู้ส่งจำเป็นต้องแจ้งแก่ธนาคารให้แจ้งวัตถุประสงค์ของการโอนว่า "สำหรับซื้ออาคารชุดโดย (ชื่อผู้ซื้อ)"

 

จำนวนเงินจำเป็นต้องมีค่าเท่ากับหรือสูงกว่าราคารวมที่สำแดงต่อกรมที่ดิน

 

แบบการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศนั้นจะออกให้โดยธนาคารต่อเมื่อมีการทำธุรกรรมเกินกว่า 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ ผู้ซื้อจำเป็นต้องขอรับใบรับรองจากธนาคารเองหากทำธุรกรรมด้วยจำนวนเงินที่น้อยกว่าจำนวนดังกล่าว

ข้อมูลอื่น ๆ สำหรับคอนโดมิเนียมในกรุงเทพมหานคร

แชร์
คัดลอกลิงก์
แชร์ผ่านลิงก์