ค้นหาทั้งเว็บไซต์

ลืมรหัสผ่าน

อีเมลพร้อมคำแนะนำในการตั้งรหัสผ่านใหม่ของคุณได้ถูกส่งไปยัง
false
หากคุณไม่ได้รับอีเมล โปรดตรวจสอบโฟลเดอร์ขยะ/สแปมของคุณ หรือคลิกปุ่ม "ส่งอีเมลอีกครั้ง" ด้านล่าง
กลับไปที่
ยังไม่มีบัญชีผู้ใช้งานใช่ไหม
ซื้อ ขาย ที่พักอาศัย • ที่พักอาศัย

ข้อแนะนำเกี่ยวกับการซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย

14 กุมภาพันธ์ 2024
ข้อแนะนำเกี่ยวกับการซื้อ-ขายคอนโดมิเนียมในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการดำเนินธุรกรรมทางการเงินสำหรับชาวต่างชาติเพื่อซื้อคอนโดมิเนียม การเก็บภาษี ค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์และค่าใช้จ่ายทั่วไป วีซ่าสำหรับชาวต่างชาติ และสินเชื่อ
Image | CBRE

ข้อแนะนำเกี่ยวกับการซื้อ-ขายคอนโดมิเนียมในประเทศไทย

 

1. ขั้นตอนการดำเนินธุรกรรมทางการเงินสำหรับชาวต่างชาติเพื่อซื้อคอนโดมิเนียม

 

ภายใต้พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2534 ชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในประเทศไทยผู้ซึ่งซื้อห้องชุดต้องทำการโอนเงินเพื่อชำระค่าห้องชุดนั้นจากต่างประเทศ และเงินนั้นต้องโอนเข้ามายังประเทศไทยในรูปของเงินตราต่างประเทศด้วย ผู้ซื้อจำเป็นต้องขอรับใบรับรอง “แบบการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ” ทุกครั้งที่มีการดำเนินธุรกรรมทางการเงินจากธนาคารที่เป็นผู้ดำเนินการ ผู้ซื้อจำเป็นต้องสำแดงใบรับรองทั้งหมดแก่กรมที่ดินเพื่อทำการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ห้องชุดนั้นด้วย
 

2. การเก็บภาษี (Taxation)

 

ผู้ซึ่งลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยมักขาดความระมัดระวังเกี่ยวกับภาระผูกพันทางภาษีที่เกิดจากการซื้อหรือขายอสังหาริมทรัพย์นั้นต่อ

 

โดยทั่วไปแล้วชาวต่างชาติมักลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าจะในรูปของห้องชุดในคอนโดมิเนียมซึ่งอาจถือกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของเองหรือปล่อยเช่าต่อ

 

ข้อมูลการวิเคราะห์ภาษีจาก Mazars (บริษัทระหว่างประเทศที่เชี่ยวชาญทางด้านบัญชี การตรวจสอบบัญชี และการดำเนินการด้านภาษีชั้นนำแห่งหนึ่งในประเทศไทย) แสดงให้เห็นว่าบุคคลหรือนิติบุคคลต้องทำการชำระภาษีเมื่อดำเนินการการขายอสังหาริมทรัพย์เสมอ
 

3. ค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์เหนืออสังหาริมทรัพย์และค่าใช้จ่ายทั่วไปสำหรับบ้านและคอนโดมิเนียม

 

  • ค่าธรรมเนียมการโอนสิทธิ์
    โดยปกติแล้วค่าธรรมเนียมการโอนสิทธิ์คิดเป็น 2% ของราคาประเมินของบ้านหรือคอนโดมิเนียมซึ่งอาจชำระโดยผู้ขายหรือผู้ซื้อ หรือแบ่งกันรับภาระระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายขึ้นอยู่กับข้อตกลงในการซื้อ-ขาย
     
  • เงินกองทุน
    สำหรับโครงการคอนโดมิเนียมที่สร้างขึ้นใหม่ ผู้ซื้อมักชำระเงินก้อนหนึ่งครั้งเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ของอสังหาริมทรัพย์จากผู้ดำเนินโครงการให้แก่ผู้ซื้อ โดยในปัจจุบันอัตราเรียกเก็บเงินกองทุนจะอยู่ระหว่าง 400 - 1500 บาทต่อตารางเมตร เงินก้อนนี้จะใช้เพื่อเป็นค่าตกแต่งและปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามความจำเป็น เป้าหมายของเงินกองทุนนี้คือเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นใจการบำรุงรักษาและคงมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์นั้น
     
  • ค่ามัดจำมาตรวัดและค่าธรรมเนียมติดตั้ง
    คือค่าใช้จ่ายสำหรับจดทะเบียนมาตรวัดไฟฟ้าหรือน้ำในอสังหาริมทรัพย์ใหม่และค่าธรรมเนียมการโอนจดทะเบียนสำหรับอสังหาริมทรัพย์เก่า ในบางกรณีของการซื้อขายห้องชุดมือสอง ผู้ขายอาจเรียกให้ผู้ซื้อจ่ายคืนเงินมัดจำค่ามาตรวัดไฟฟ้าและ/หรือน้ำ  ค่ามัดจำมาตรวัดไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับกำลังของมาตรวัดไฟฟ้า
     
  • ค่าธรรมเนียมสำหรับการดำเนินการทางกฎมาย
    คู่สัญญารับผิดชอบค่าธรรมเนียมสำหรับการดำเนินการทางกฎหมายในส่วนของตน
     
  • ค่าธรรมเนียมสำหรับพื้นที่ส่วนกลาง/สาธารณูปโภค 
    ค่าธรรมเนียมนี้จ่ายโดยผู้ซื้อเพื่อเป็นค่าบำรุงรักษาสำหรับพื้นที่ส่วนกลางของคอนโดมิเนียมและอาคารพักอาศัย สำหรับโครงการพักอาศัยที่สร้างขึ้นในปัจจุบันจะถือเป็นเรื่องปกติที่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมนี้ล่วงหน้าเป็นเวลา 1-3 ปี โดยในปัจจุบันค่าธรรมเนียมจะอยู่ที่ประมาณ 30 - 150 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน

     

4. วีซ่าสำหรับชาวต่างชาติ

 

วีซ่าที่ออกให้แก่ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้มายังประเทศไทยแบ่งออกได้หลายประเภท คือ วีซ่านักท่องเที่ยว วีซ่าทำงาน และวีซ่าเกษียณอายุ

 

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ของ กรมการกงสุล และ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
 

5. สินเชื่อ 
 

สินเชื่อสำหรับชาวต่างชาติเพื่อการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยนั้นซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง อย่างไรก็ตามทางบริษัทขอแนะนำให้ท่านทำการตรวจสอบกับธนาคารของท่านเพื่อขอรับทราบข้อมูลล่าสุด

 

ดูข้อมูลอื่นๆ สำหรับ คอนโดมิเนียมในกรุงเทพมหานคร  หรือ ติดต่อเราเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ
Image | CBRE
ปพิณริยา พึ่งเขื่อนขันธ์
หัวหน้าแผนกซื้อขายที่พักอาศัยรายย่อย
แชร์
คัดลอกลิงก์
แชร์ผ่านลิงก์