ค้นหาทั้งเว็บไซต์

ลืมรหัสผ่าน

อีเมลพร้อมคำแนะนำในการตั้งรหัสผ่านใหม่ของคุณได้ถูกส่งไปยัง
false
หากคุณไม่ได้รับอีเมล โปรดตรวจสอบโฟลเดอร์ขยะ/สแปมของคุณ หรือคลิกปุ่ม "ส่งอีเมลอีกครั้ง" ด้านล่าง
กลับไปที่
ยังไม่มีบัญชีผู้ใช้งานใช่ไหม
ที่พักอาศัย

ระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร

17 เมษายน 2024
ระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพ มีความสะดวกและมีหลากหลายช่องทางให้เลือกใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า BTS รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ARL รถโดยสารด่วนพิเศษ BRT ทางด่วน รถโดยสารประจำทาง แท็กซี่ ตุ๊กตุ๊ก
Image | CBRE

การเดินทางในกรุงเทพมหานคร

 

1. รถไฟฟ้า BTS (Bangkok Transit System - BTS) 
 

รถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นระบบขนส่งมวลชนหลักภายในกรุงเทพมหานคร ซึ่งครอบคลุมย่านธุรกิจกลางเมือง พื้นที่การค้า พื้นที่อยู่อาศัย และสถานที่ท่องเที่ยวหลักจำนวนมาก ในปัจจุบัน มีรถไฟฟ้าเปิดให้บริการทั้งหมดสองสาย ได้แก่ สายสุขุมวิทหรือสายสีเขียวอ่อน เริ่มต้นตั้งแต่สถานีคูคต จังหวัดปทุมธานี วิ่งไปหมอชิต พหลโยธิน พญาไท และถนนสุขุมวิท จนถึงสถานีเคหะ จังหวัดสมุทรปราการ และสายสีลมหรือสายสีเขียวเข้ม เริ่มต้นตั้งแต่สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ วิ่งไปยังฝั่งธนบุรีจนถึงสถานีบางหว้า โดยมีสถานีสยามเป็นสถานีเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าบีทีเอสทั้งสองสาย

 

ประเภทของบัตรโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส มีจำหน่ายทั้งบัตรโดยสารประเภทเที่ยวเดียว หลายเที่ยว และบัตรเติมเงิน โดยบางประเภทของบัตรเติมเงินจะให้ส่วนลดแก่ผู้ใช้งานประจำ

 

2. รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT (Mass Rapid Transit - MRT)
 

รถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที เป็นอีกระบบขนส่งหลักที่มีการให้บริการครอบคลุมย่านธุรกิจทั้งภายในเมืองและรอบนอกเมือง โดยผ่านพื้นที่การค้า ที่อยู่อาศัย และสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง ในปัจจุบันรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที เปิดให้บริการทั้งหมดสี่สาย ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ไฟฟ้าสายสีม่วง รถไฟฟ้าสายสีเหลือง และรถไฟฟ้าสายสีชมพู

 

รถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที สายสีน้ำเงิน วิ่งเป็นวงกลมจากสถานีท่าพระไปเตาปูน ลาดพร้าว หัวลำโพง ก่อนมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกสู่สถานีหลักสอง รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินวิ่งผ่านย่านธุรกิจและห้างสรรพสินค้าในย่านสีลม สวนลุมพินี ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สี่แยกอโศก และบางซื่อ ซึ่งมีสำนักงาน ห้างสรรพสินค้าและสถานบันเทิงมากมาย

 

รถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที สายสีม่วง เริ่มต้นเส้นทางที่สถานีเตาปูน ผ่านออกนอกเมืองไปตามถนนติวานนท์ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ไปทางจังหวัดนนทบุรี ผ่านศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต และสิ้นสุดเส้นทางที่สถานีคลองบางไผ่

 

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง เริ่มต้นที่สถานีลาดพร้าวซึ่งเป็นสถานีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ไปยังสถานีสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ รถไฟฟ้าสายสีเหลืองนี้วิ่งเลียบถนนลาดพร้าว ถนนศรีนครินทร์ ถึงหัวหมากซึ่งเชื่อมต่อกับแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (Airport Rail Link) ก่อนลงใต้สู่ถนนเทพารักษ์ ผ่านห้างสรรพสินค้ามากมาย เช่น เดอะมอลล์บางกะปิ พาราไดซ์พาร์ค และซีคอนสแควร์

 

รถไฟฟ้าสายสีชมพู เริ่มต้นที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี ซึ่งเป็นสถานีเชื่อต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วง สิ้นสุดที่สถานีมีนบุรี รถไฟฟ้าสายสีชมพูนี้วิ่งไปตามถนนติวานนท์ ปากเกร็ด แจ้งวัฒนะ และถนนรามอินทราทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ ก่อนสิ้นสุดที่มีนบุรี ซึ่งจะตัดกับรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกในอนาคต

 

ปัจจุบัน รถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ทีนี้ มีจุดเชื่อมต่อกันทั้งหมดหกจุด คือ สถานีศาลาแดง - สีลม สถานีอโศก - สุขุมวิท สถานีหมอชิต - สวนจตุจักร สถานีห้าแยกลาดพร้าว - พหลโยธิน สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ และสถานีบางหว้า สถานีเหล่านี้รองรับผู้สัญจรเดินทางออกนอกเมืองหรือเข้าถึงย่านใจกลางเมืองได้โดยสะดวก

 

การซื้อเหรียญโดยสาร สามารถซื้อได้หลายประเภท ได้แก่ เหรียญโดยสารประเภทเที่ยวเดียว หลายเที่ยว และบัตรเติมเงิน โดยบัตรเติมเงินบางประเภทจะให้ส่วนลดแก่ผู้ใช้งานประจำ

 

ดูแผนที่เส้นทางรถไฟฟ้า

 

3. แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ARL (Airport Rail Link - ARL)
 

แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ หรือ รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นระบบขนส่งมวลชนที่เริ่มจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสพญาไทในกรุงเทพมหานคร ในปัจจุบันมีการให้บริการแบบเดียวคือ สายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือ ซิตี้ไลน์ มีจำนวนสถานีทั้งสิ้น 6 สถานี โดยเริ่มจากพญาไท หยุดจอดทุกสถานี และสิ้นสุดที่สถานีท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 15 บาท และสูงสุด 45 บาท

 

4. รถโดยสารด่วนพิเศษ BRT (Bus Rapid Transit - BRT)
 

รถโดยสารด่วนพิเศษกรุงเทพเปิดให้บริการ จากสถานีเชื่อมต่อที่ รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีช่องนนทรี ผ่านถนนนราธิวาส-ราชนครินทร์ จากนั้นวิ่งตลอดความยาวของถนนพระราม 3 ก่อนที่จะข้ามสะพานพระราม 3 และสิ้นสุดที่สถานี ราชพฤกษ์ ซึ่งเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียวเข้ม สถานี ตลาดพลู ที่บริเวณแยกรัชดาภิเษก-ราชพฤกษ์ในฝั่งธนบุรี

 

รถโดยสารบีอาร์ทีนี้ จะแล่นในเลนเฉพาะเป็นส่วนใหญ่และมีการใช้เลนร่วมกับรถอื่นในบางระยะ แต่จะได้รับสิทธิ์ไปก่อนในกรณีที่มีการติดสัญญาณไฟแดง

 

5. ทางด่วน
กรุงเทพมหานครมีระบบทางด่วนครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ของกรุงเทพและปริมณฑล การใช้ทางด่วนนี้ ผู้ใช้จะต้องเสียค่าบริการตามอัตราที่กำหนดในแต่ละด่าน

 

6. รถโดยสารประจำทาง
 

กรุงเทพมหานครมีระบบรถประจำทางที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ มีการให้บริการทั้งจากรถโดยสารสาธารณะและรถโดยสารจากบริษัทเอกชนที่ร่วมให้บริการ รถประจำทางที่ให้บริการมีทั้งแบบปรับอากาศและไม่ปรับอากาศโดยคุณภาพของรถประจำทางจะแตกต่างกันออกไป ฉะนั้นการเลือกใช้รถปรับอากาศสีส้มแบบยูโรจะเป็นตัวเลือกที่สะดวกและปลอดภัย ค่ารถโดยสารแต่ละเที่ยวจะถูกเรียกเก็บโดยพนักงานเก็บค่าโดยสารบนรถประจำทางนั้น ๆ การเดินทางด้วยรถโดยสารประจำทางมักไม่เป็นที่นิยมของชาวต่างชาติเนื่องจากอุปสรรคทางด้านภาษา อย่างไรก็ตามรถโดยสารประจำทางที่ให้บริการในเส้นทางที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวมักมีป้ายบอกจุดหมายปลายทางรวมถึงจุดที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวรายทางเป็นภาษาอังกฤษ

 

7. รถแท็กซี่
 

ค่าโดยสารรถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานคร จัดว่าเป็นราคาค่าโดยสารที่สมเหตุสมผล รถแท็กซี่ทุกคันจะมีการติดตั้งมิเตอร์แสดงค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 35 บาท โดยที่ผู้โดยสารที่ต้องการโดยสารรถแท็กซี่สามารถเรียกได้จากถนนหรือโทรจองกับศูนย์บริการ (ซึ่งคิดค่าบริการเพิ่ม) การใช้บริการรถแท็กซี่จากบริษัทที่ได้รับการรับรองจากสนามบินทั้งสองแห่งในกรุงเทพมหานคร จะมีการคิดค่าบริการเพิ่มเติม และค่าทางด่วนจะถูกคิดเพิ่มจากตัวเลขที่แสดงบนมิเตอร์ สำหรับชาวต่างชาติ ให้สังเกตรถแท็กซี่ที่ติดป้าย “We love farang” ซึ่งจะเป็นเครื่องหมายบอกว่าคนขับสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้บ้าง

 

8. รถตุ๊กตุ๊ก
 

รถตุ๊กตุ๊กหรือรถแท็กซี่สามล้อสามารถพบได้ทั่วไป ซึ่งผู้โดยสารจะต้องบอกสถานที่ที่ต้องการไปและทำการตกลงราคากันก่อนใช้บริการ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ
Image | CBRE
ปพิณริยา พึ่งเขื่อนขันธ์
หัวหน้าแผนกซื้อขายที่พักอาศัยรายย่อย
แชร์
คัดลอกลิงก์
แชร์ผ่านลิงก์