ค้นหาทั้งเว็บไซต์

ลืมรหัสผ่าน

อีเมลพร้อมคำแนะนำในการตั้งรหัสผ่านใหม่ของคุณได้ถูกส่งไปยัง
false
หากคุณไม่ได้รับอีเมล โปรดตรวจสอบโฟลเดอร์ขยะ/สแปมของคุณ หรือคลิกปุ่ม "ส่งอีเมลอีกครั้ง" ด้านล่าง
กลับไปที่
ยังไม่มีบัญชีผู้ใช้งานใช่ไหม
พาณิชยกรรม

เขตอุตสาหกรรม และสวนอุตสาหกรรมในประเทศไทย

1 ธันวาคม 2022
การแบ่งเขตอุตสาหกรรม และสวนอุตสาหกรรมในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 เขต ดังนี้ เขต 1 กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี สมุทรปราการ เขต 2 สระบุรี ฉะเชิงเทรา ฉะเชิงเทรา ชลบุรี เขต 3 นครราชสีมา ปราจีนบุรี
Image | CBRE

นิคมอุตสาหกรรม สวนอุตสาหกรรม และเขตอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นพื้นที่ที่ถูกจัดสรรไว้ให้สำหรับผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรม โดยเฉพาะด้านการผลิตและมักเป็นทำเลสำหรับผู้ประกอบกิจการที่กำลังมองหา ซื้อหรือเช่าโรงงาน ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีนิคมอุตสาหกรรมมากกว่า 60 แห่ง โดยพื้นที่อุตสาหกรรมเหล่านี้เป็นโครงการที่ถูกออกแบบมาเพื่อการพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งหมายถึงโรงงานสำหรับขายหรือเช่าในประเทศไทยที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อุตสาหกรรม สามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นได้ เช่น ระบบการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ระบบน้ำประปาที่เพียงพอต่อภาคอุตสาหกรรม ท่าเรือ ท่อจ่ายก๊าซธรรมชาติ การจ่ายไฟฟ้าเพื่อรองรับในธุรกิจภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งระบบส่งสัญญาณ และการสื่อสารคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ

การพัฒนานิคมอุตสาหกรรม สวนอุตสาหกรรม หรือเขตอุตสาหกรรมนั้นใช้ระยะเวลาในการพัฒนาพอสมควร โดยขั้นตอนแรกสำหรับนักพัฒนาเอกชนคือการหาซื้อที่ดินขนาดใหญ่ และทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นกระบวนการตรวจสอบว่าโครงการดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร

หลังจากนั้นจึงแบ่งเขตอุตสาหกรรมและวางโครงสร้างพื้นฐาน เช่น สร้างถนน ทางระบายน้ำ และระบบน้ำเสีย ซึ่งผู้พัฒนาจะจัดสรรพื้นที่โดยออกเป็นโฉนดและขายที่ดินให้กับผู้ที่สนใจจะซื้อ โดยผู้ซื้อหรือนักลงทุนเหล่านี้คือผู้ผลิตที่วางแผนจะสร้างโรงงานเพื่อผลิตสินค้าของตนเอง ทั้งนี้ นิคมอุตสาหกรรม สวนอุตสาหกรรม และเขตอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ส่วนใหญ่ได้รับการพัฒนาจากภาคเอกชน เช่น ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป อมตะ คอร์ปอเรชั่น สวนอุตสาหกรรมโรจนะ เขตอุตสาหกรรมนวนคร และ นิคมอุตสาหกรรมทีเอฟดี

หลังจากขายที่ดินเรียบร้อยแล้ว หน้าที่ของผู้พัฒนาคือ การจัดการนิคมอุตสาหกรรม สวนอุตสาหกรรม หรือเขตอุตสาหกรรม หากดำเนินการร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พื้นที่ดังกล่าวจะเรียกว่า “นิคม” ก็ได้ แต่หากได้รับการจัดการโดยผู้พัฒนาแต่เพียงผู้เดียว ก็จะเป็น 'สวนอุตสาหกรรม' หรือ 'เขตอุตสาหกรรม'

แน่นอนว่าทำเลมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม สวนอุตสาหกรรม หรือเขตอุตสาหกรรม อีกทั้งข้อบังคับผังเมืองของกรุงเทพมหานครมีแนวโน้มที่จะไม่สนับสนุนให้มีการจัดตั้งพื้นที่ดังกล่าวในเมือง ทำให้นิคมและสวนอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณรอบนอก ตัวอย่าง 2 นิคมที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของกรุงเทพฯ คือนิคมอุตสาหกรรมบางชัน และนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง

พื้นที่อุตสาหกรรมหลายแห่งตั้งอยู่บริเวณอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด ทางตะวันออกของประเทศไทยเนื่องจากสามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมได้อย่างดี จึงเป็นตัวเลือกยอดนิยมที่นอกจากการเดินทางไปยังสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิโดยทางถนนและทางเชื่อมต่อรถไฟฟ้าที่ทั้งง่ายและสะดวก ยังมีท่าเรือหลักทั้งสองแห่งของไทย ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบังซึ่งเป็นท่าเรือคอนเทนเนอร์หลักของประเทศ และท่าเรือมาบตาพุดซึ่งเป็นท่าเรือขนส่งสินค้าเทกองและของเหลวหลัก นิคมอุตสาหกรรมในภูมิภาคนี้ ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 1-5 นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ แหลมฉบัง และนิคมอุตสาหกรรมซีพีจีซี (CPGC)

แหล่งที่ตั้งอุตสาหกรรมที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งอยู่ในจังหวัดปทุมธานีและอยุธยา หรืออยู่ทางเหนือของกรุงเทพฯ พื้นที่นี้เป็นหัวใจของการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย นิคมอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่บริเวณนี้ ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน สวนอุตสาหกรรมโรจนะ เขตอุตสาหกรรมนวนคร และนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค

หากคุณต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการหาซื้อหรือเช่าโรงงานที่เหมาะสม โปรดติดต่อซีบีอาร์อี

เขต 1
กรุงเทพมหานคร
บางชัน (นอ.)
อัญธานี [เจมโมโปลิส] (นอ.)
ลาดกระบัง (นอ.)
ปทุมธานี
บางกระดี่ (สอ.)
นวนคร (ขอ.)
สมุทรปราการ
บางพลี (นอ.)
บางปู (นอ.)
สมุทรสาคร
สมุทรสาทร (นอ.)
สินสาคร (นอ.)
เขต 2
สระบุรี
หนองแค (นอ.)
สระบุรี (สอ.)
พื้นที่อุตสาหกรรมสระบุรี
ฉะเชิงเทรา
304 (สอ.) 2
เกตเวย์ซิตี้ (นอ.)
เวลโกรว์ (นอ.)
ระยอง
อมตะนคร (นอ.)
ตะวันออก (นอ.)
อีสเทิร์นซีบอร์ด (นอ.)
เหมราช (นอ.)
พื้นที่อุตสาหกรรมระยอง
โรจนะ (สอ.)
สยามอีสเทิร์น (สอ.)
ชลบุรี
อมตะนคร (นอ.)
เหมราช ชลบุรี (นอ.)
แหลมฉบัง (นอ.)
ปิ่นทอง (นอ.)
อยุธยา
บางปะอิน (นอ.)
ไฮ-เทค (นอ.)
โรจนะ (สอ.)
สหรัตนนคร (นอ.)
เขต 3
นครราชสีมา
นวนคร (ขอ.)
ปราจีนบุรี
304 (สอ.)
กบินทร์บุรี (ขอ.)
แชร์
คัดลอกลิงก์
แชร์ผ่านลิงก์