ประเภทของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมในประเทศไทย
ประเภทของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรม
การซื้อ หรือ เช่า อสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมมีตัวเลือกอยู่ 3 ประเภท ได้แก่
- เช่า-ซื้อโรงงาน
- ซื้อ-เช่าโกดัง / คลังสินค้า
- ซื้อ-เช่าที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม
บริษัทสัญชาติไทยหรือที่มีผู้เป็นเจ้าของหลักเป็นคนสัญชาติไทยเท่านั้นที่สามารถซื้อที่ดินได้ โดยมีข้อยกเว้นสองประการคือ
- บริษัทข้ามชาติโดยสมบูรณ์สามารถซื้อที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม เช่น นิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับการดูแลโดย กนอ.
- บริษัทข้ามชาติโดยสมบูรณ์สามารถซื้อที่ดินที่ใดก็ได้หากได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ดินสามารถใช้สำหรับก่อสร้างส่วนการผลิตตามที่ได้รับอนุมัติเท่านั้น
1. นิคมอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทยมีคำจำกัดความดังนี้ นิคมอุตสาหกรรมคือที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม (Serviced Industrial Land Plots - SILP) ซึ่งถูกพัฒนา หรือบริหาร หรือโดยความร่วมมือกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือ กนอ. (Industrial Estate Authority of Thailand - IEAT) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ
มีนิคมอุตสาหกรรมทั้งหมด 29 แห่งที่อยู่ภายใต้การดูแลของ กนอ. สวนอุตสาหกรรมเป็นที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรมที่ถูกพัฒนาโดยไม่อยู่ภายใต้การดูแลของ กนอ. บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่สามารถเข้าซื้อที่ดินได้หากได้รับอนุมัติจาก BOI บริษัทต่างชาติสามารถซื้อที่ดินเปล่าได้หากได้รับการอนุมัติจาก BOI
อสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมประเภทอื่นนอกจากที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีตัวเลือกอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมอีกสองประเภทได้แก่ โกดังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า โกดังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้าที่มีความทันสมัยที่เปิดให้เช่าหรือขายต่อมีจำนวนค่อนข้างจำกัด โดยทั่วไปแล้วโกดังสินค้าคืออาคารชั้นเดียว โดยปกติจะตั้งอยู่ด้านนอกของนิคมอุตสาหกรรมหรือสวนอุตสาหกรรม พื้นอาคารมีความสามารถในการรองรับน้ำหนักได้ 2-3 ตันต่อตารางเมตรและมีความสูง 6-8 เมตร ตามปกติแล้วโกดังสินค้าเหล่านี้จะไม่มีประตูสำหรับขนถ่ายสินค้า |