ค้นหาทั้งเว็บไซต์

ลืมรหัสผ่าน

อีเมลพร้อมคำแนะนำในการตั้งรหัสผ่านใหม่ของคุณได้ถูกส่งไปยัง
false
หากคุณไม่ได้รับอีเมล โปรดตรวจสอบโฟลเดอร์ขยะ/สแปมของคุณ หรือคลิกปุ่ม "ส่งอีเมลอีกครั้ง" ด้านล่าง
กลับไปที่
ยังไม่มีบัญชีผู้ใช้งานใช่ไหม
พาณิชยกรรม

ประเภทของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมในประเทศไทย

17 กุมภาพันธ์ 2022
ประเภทของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมสำหรับซื้อ ขาย เช่า ในประเทศไทย รวมถึงทำเลที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรม
Image | CBRE

ประเภทของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรม

การซื้อ หรือ เช่า อสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมมีตัวเลือกอยู่ 3 ประเภท ได้แก่

  1. เช่า-ซื้อโรงงาน
  2. ซื้อ-เช่าโกดัง / คลังสินค้า
  3. ซื้อ-เช่าที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม

บริษัทสัญชาติไทยหรือที่มีผู้เป็นเจ้าของหลักเป็นคนสัญชาติไทยเท่านั้นที่สามารถซื้อที่ดินได้ โดยมีข้อยกเว้นสองประการคือ

  • บริษัทข้ามชาติโดยสมบูรณ์สามารถซื้อที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม เช่น นิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับการดูแลโดย กนอ.
  • บริษัทข้ามชาติโดยสมบูรณ์สามารถซื้อที่ดินที่ใดก็ได้หากได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ดินสามารถใช้สำหรับก่อสร้างส่วนการผลิตตามที่ได้รับอนุมัติเท่านั้น

ทำเลที่ตั้งโรงงานในประเทศไทย

มีพื้นที่ 3 ประเภทที่สามารถตั้งโรงงานได้คือ

  1. นิคมอุตสาหกรรม
  2. สวนอุตสาหกรรม/เขตอุตสาหกรรม
  3. ที่ดินเปล่า
ซื้อหรือเช่าอสังหาฯ เพื่อการอุตสาหกรรม

1. นิคมอุตสาหกรรม

นิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทยมีคำจำกัดความดังนี้ นิคมอุตสาหกรรมคือที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม (Serviced Industrial Land Plots - SILP) ซึ่งถูกพัฒนา หรือบริหาร หรือโดยความร่วมมือกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือ กนอ. (Industrial Estate Authority of Thailand - IEAT) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ

ข้อดีหลักของการมีที่ตั้งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมคือ

  • บริษัทต่างชาติ 100% สามารถซื้อที่ดินได้
  • นิคมอุตสาหกรรมเสนอการให้บริการ (ครบวงจร) โดยที่ กนอ. ให้การรับรองทั้งหมด เช่น ใบอนุญาตก่อสร้างและใบอนุญาตประกอบการโรงงาน ที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรมมีการวางระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่พร้อมใช้ เช่น น้ำประปา ไฟฟ้าและสายโทรศัพท์ นิคมอุตสาหกรรมทุกแห่งมีโรงบำบัดน้ำเสียเป็นของตัวเอง

มีนิคมอุตสาหกรรมทั้งหมด 29 แห่งที่อยู่ภายใต้การดูแลของ กนอ.

2. เขตอุตสาหกรรม/สวนอุตสาหกรรม

สวนอุตสาหกรรมเป็นที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรมที่ถูกพัฒนาโดยไม่อยู่ภายใต้การดูแลของ กนอ. บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่สามารถเข้าซื้อที่ดินได้หากได้รับอนุมัติจาก BOI

สวนอุตสาหกรรม/เขตอุตสาหกรรมเป็นพื้นที่เป็นที่ดินส่วนบุคคลที่ถูกพัฒนา จัดจำหน่ายและบริหารโดยบุคคลธรรมดา และเนื่องจากอยู่นอกเหนือการดูแลของ กนอ. จึงไม่สามารถขอรับการสนับสนุนจาก กนอ. ได้

ในทางกายภาพแล้วสวนอุตสาหกรรม/เขตอุตสาหกรรมมีลักษณะเดียวกันกับนิคมอุตสาหกรรมแต่คุณภาพของโครงการจะไม่ได้ถูกพัฒนาและบริหารโดย กนอ. แต่จะขึ้นอยู่กับเจ้าของโครงการ

สวนอุตสาหกรรม/เขตอุตสาหกรรมบางแห่งอาจทำการออกใบอนุญาตก่อสร้างเอง

ผู้ซื้อที่ดินต้องขอความช่วยเหลือจากผู้ดำเนินโครงการในเรื่องการขอใบอนุญาตก่อสร้าง และอื่นๆ ซึ่งต่างจากบริการที่ได้รับจากนิคมอุตสาหกรรมที่ดูแลโดย กนอ. ซึ่งจะสามารถดำเนินการได้อย่างสะดวกและปลอดภัยกว่า

3. ที่ดินเปล่า

บริษัทต่างชาติสามารถซื้อที่ดินเปล่าได้หากได้รับการอนุมัติจาก BOI

ข้อเสียของการซื้อที่ดินเปล่าคือค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในส่วนของการเตรียมที่ดินและการติดตั้งระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน และยังมีความเสี่ยงเนื่องจากที่ดินเปล่าบางแห่งอาจไม่สามารถเข้าถึงระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานได้ในบางพื้นที่

ยิ่งไปกว่านั้นผู้ซื้อจะต้องทำการขอใบอนุญาตที่จำเป็นทั้งหมดด้วยตนเองและต้องติดต่อกับหน่วยงานราชการและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเองอีกด้วย

แม้ว่าค่าที่ดินเบื้องต้นจะต่ำกว่าการซื้อที่ดินจากนิคมอุตสาหกรรมหรือจากสวนอุตสาหกรรม ค่าใช้จ่ายและระยะเวลาอื่นๆ ที่เกิดจากการขอใบอนุญาตเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้บริษัทต่างชาติส่วนใหญ่เลือกที่จะซื้อที่ดินจากนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ แทน

เอกสารกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทยแบ่งออกได้เป็น 10 ประเภท ผู้ซื้อจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังในพิจารณาเอกสารสิทธิ์แต่ละประเภท
 

  นิคมอุตสาหกรรม เขต/สวนอุตสาหกรรม ที่ดินเปล่า
บริษัทต่างชาติที่ได้รับอนุมัติจาก BOI สามารถซื้อที่ดินได้หรือไม่ ครอบคลุม ครอบคลุม ครอบคลุม
บริษัทต่างชาติที่ไม่ได้ได้รับอนุมัติจาก BOI สามารถซื้อที่ดินได้หรือไม่ ครอบคลุม ไม่ครอบคลุม ไม่ครอบคลุม
ความช่วยเหลือในการขอใบอนุญาต ครอบคลุม ครอบคลุม ไม่ครอบคลุม
ความช่วยเหลือด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน ครอบคลุม ครอบคลุม ไม่ครอบคลุม
เขตอุตสาหกรรมส่งออก (Export processing zone – EPZ) ครอบคลุม ไม่ครอบคลุม ไม่ครอบคลุม
เขตเศรษฐกิจพิเศษ (Free trade zone - FTZ) ครอบคลุม ครอบคลุม ครอบคลุม

อสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมประเภทอื่น

นอกจากที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีตัวเลือกอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรมอีกสองประเภทได้แก่ โกดังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า

โกดังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้าที่มีความทันสมัยที่เปิดให้เช่าหรือขายต่อมีจำนวนค่อนข้างจำกัด โดยทั่วไปแล้วโกดังสินค้าคืออาคารชั้นเดียว โดยปกติจะตั้งอยู่ด้านนอกของนิคมอุตสาหกรรมหรือสวนอุตสาหกรรม พื้นอาคารมีความสามารถในการรองรับน้ำหนักได้ 2-3 ตันต่อตารางเมตรและมีความสูง 6-8 เมตร ตามปกติแล้วโกดังสินค้าเหล่านี้จะไม่มีประตูสำหรับขนถ่ายสินค้า

ปัจจุบันมีบริษัทรับสร้างอาคารเพื่อสนองความต้องการบริษัทขนส่ง โดยอาคารนี้สามารสร้างได้ภายในนิคมอุตสาหกรรมและสวนอุสาหกรรมหรือแม้แต่บนที่ดินเปล่า

แชร์
คัดลอกลิงก์
แชร์ผ่านลิงก์